วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

7 ช่างมั่ว (อย่างมีหลักการ) จำเป็น ยำคาบู (Carburetor) Episode 1

      อาการที่คนขายน้องเบสบอกตั้งแต่โพสประกาศขายแล้วว่า พอเร่งแล้วจะมีอาการสำลัก อาการมันหนักขึ้นทุกที จนเกือบมีตายกลางถนน เนื่องจากอาการเร่งไม่ขึ้นกลางแยก ดีที่เอาตัวรอดมาได้ ถ้าปล่อยไว้ได้ตายจริงแน่
       จะทำไง จะเอาไปซ่อมกับช่างก็ไม่มีตัง เลยต้องหาความรู้อย่างเร่งด่วน แต่เซ้นของคนใช้รถและรู้ระบบของเครื่องยนต์บ้างนิดหน่อย บอกในหัวว่า มันเป็นปัญหาระบบจ่ายเชื้อเพลิงแน่นอน ยิ่งรถสามารถสตาร์ทติดได้ไม่ยาก และยังเดินค่อนข้างเรียบยามไม่ได้บิดคันเร่ง จะมีปัญหาตอนบิดคันเร่งเท่านั้น เลยฟันธงเองเลยว่า 
      "คาบูน้องเบสเดี้ยงแย้วชัวร์ๆ"
       ต้องอัปโหลดความรู้เกี่ยวกับ "คาร์บูเรเตอร์" เข้าหัวโดยด่วน
       คาร์บูเรเตอร์ คืออะไรล่ะ อันนี้เป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว
       สรุปง่ายๆ มันคือระบบผสมน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากับอากาศ แล้วจ่ายให้กับเครื่องยนต์เอาไปเผาไหม้ ในสัดส่วนค่อนข้างคงที่ โดยควบคุมปริมาณสารผสมเชื้อเพลิงกับอากาศที่จะเข้าเครื่องยนต์ด้วยสายคันเร่ง
       คาบูเรเตอร์ พื้นๆ เก่าๆ แต่ยังเก๋า จะใช้ระบบลูกเร่ง คอยกั้นอากาศโดยเปิดปิดตามการดึงสายคันเร่ง ลูกเร่งจะติดกับเข็มเร่งที่ทิ่มลงไปที่นมหนู นมหนูจะเป็นช่องให้น้ำมันเชื้อเพลิงออกมาผสมกับอากาศ เข็มเร่งที่ทิ่มลงไปที่นมหนูจะเป็นลักษณะเรียว เมื่อยกลูกเร่งเปิดทางให้อากาศผ่านมากขึ้นเข็มเร่งก็จะถูกดึงออกมาจากนมหนูตามลูกเร่งมากขึ้น น้ำมันก็จะออกมาผสมกับอากาศมาก
             
             สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน(InternalCombustionEngine)อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีผลต่อ
กำลัง ของเครื่องยนต์ ในทางทฤษฎีส่วนผสมที่ให้กำลังงานสูงสุดจะอยู่ที่ 12.6:1 ซึ่ง เป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างหนา อัตรา
ส่วนผสมที่ให้การประหยัดเชื้อเพลิงสูงสุดคือ 15.4:1 เป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างบางมากและส่วนผสมอากาศต่อน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่พอดีจะอยู่ที่ 14.7:1
 ข้อมูลจากเวบนี้

            จากข้อมูลข้างบน พอเข้าใจได้ว่า ขนาดช่องเปิดที่ลูกเร่งเปิดให้อากาศเข้า กับขนาดนมหนูและมุมความเรียวเล็กของเข็มเร่ง จะมีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิง ได้ 14.7 : 1 ในทุกระยะการดึงคันเร่ง
            จึงเริ่มเข้าใจ ศัพท์ ของพวกเด็กแว้น นักแต่งรถ ทั้งหลาย เกี่ยวกับ การ ฝนเข็ม ไล่นมหนูขึ้นมาบ้าง ฝนเข็มก็คือ เอาเข็มเร่งมาฝนให้เล็กลง เพื่อให้น้ำมันเข้าเครื่องได้มากขึ้น ไล่นมหนู ก็คือ การไล่เปลี่ยนขนาดนมหนูไปเรื่อย จนได้ขนาดที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์

            นี่แค่หลักการพื้นๆ มันยังมีอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น
            เครื่องเดินเบา กับ นมหนูเดินเบา 
            นมหนูเดินเบา จะทำงานในระบบที่แยกออกมาจากระบบข้างบน  เป็นระบบที่ให้อากาศเล็กน้อยเข้าไปผสมกับน้ำมันน้อยๆ เพื่อเลี้ยงให้เครื่องยนต์ ทำงานในรอบที่ต่ำที่สุดที่จะเป็นไปได้ โดยที่เครื่องไม่ดับ
ระบบนี้จะ ทำงานตอนที่ไม่มีการเร่งคันเร่ง ถ้าทำงานปกติก็คือพอปล่อยคันเร่งแล้วเครื่องไม่ดับน่ะแหละ
         
             อย่างที่ว่าไว้ข้างต้น น้องเบสเดินเบาปกติ แต่เร่งเครื่องแล้วไม่ปกติ แสดงว่า ระบบจ่ายน้ำมันเดินเบายังโอเค เครื่องยนต์โดยรวมยังไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ที่พังแน่ๆ คือระบบจ่ายน้ำมันตอนที่เร่งคันเร่งน่ะแหละ ที่เน่า
         
            พอรู้หลักการแล้ว มาดูกันต่อว่าจะทำอะไรได้บ้างงง
         
           จากบทความเก่า ที่เคยบอกว่า คาบูน้องเบสเป็นแบบนี้
      

             รู้สึกเซ็ง ขึ้นมาทันที เพราะแทนที่มันจะง่ายๆ กลายเป็นโคตรซับซ้อน จากที่สายคันเร่งจะชักลูกเร่งโดยตรง เปิดอากาศ เปิดน้ำมัน เสือกใช้แรงดันอากาศดันลูกเร่งขึ้นซะงั้น แล้วจะทำยางงายยยยยย
           
            หาข้อมูลเพิ่ม จากหลายๆแหล่ง ก็พอเข้าใจได้ว่า การจ่ายน้ำมันเพี้ยน ก็จะเกิดปัญหาได้แค่ 2 อย่าง คือ น้ำมันบางไป กับ น้ำมันหนาไป ความจริงมันจะมีอะไรได้อีกละวะ น้ำมันน้า หนา รึน้ำมัน บ๊าง บางงงง เราะ

           ทีนี้น้องเบสเร่งไม่ขึ้น เร่งแล้วสำลัก มีเสียงโป๊ะแป๊ะ มันบางไปรึหนาไปละวะ จะรู้ได้ไง บางคนว่า ให้ดูหัวเทียนเอาหัวเทียนใหม่ๆมา คือ กรูยังไม่มีตังซื้อออออ บางคนว่า ให้เร่งให้หมดปลอกดู รถกรูเร่งได้ไม่ถึงครึ่งปลอกเลยเว้ยยยย
         
           พอดี รถคาบู ส่วนใหญ่ มีอีกระบบที่เสริมขึ้นมา คือ
           โช้คน้ำมัน
            โช้คน้ำมัน เป็นระบบเสริมคาร์บูเรเตอร์ ที่ใช้ในกรณี จอดรถไว้นาน เครื่องเย็น การเปิดโช้คจะช่วยกระตุ้นน้ำมันให้เข้าไปผสมกับเชื้อเพลิงมากขึ้นกว่าปกตินั่นเอง
     
            แล้วมันมีประโยชน์ยังไง กับการ เดา อย่างมีหลักการว่า คาบูเรเตอร์น้องเบส จ่ายน้ำมันหนาไปหรือบางไป มาคิดแบบวิทยาศาสตร์กัน
            ข้อมูลเบื้องต้น ถ้าน้ำมันหนาไปมาก น้ำมันท่วม เครื่องจะดับ
                                     ถ้าน้ำมันบางมาก เครื่องก็จะดับเหมือนกัน เออนะ คิดง่ายๆ
            สมุติฐาน          อาการทั่วไป  เร่งรอบสูงไม่ขึ้น สำลัก เหมือนจะดับ ไม่รู้ว่า น้ำมันหนา หรือบาง

                                     ถ้าหนาไป เปิดโช้คเพิ่มน้ำมัน เครื่องจะดับ ถ้าบางไป เปิดโช้คเร่ง เครื่องจะปกติ

           ผลการทดสอบ  เปิดโช้ค เครื่องเร่งขึ้นรอบสูงได้ แต่ รอบต่ำ ที่ไม่ใช่เดินเบา จะดับ

          สรุปว่า น้ำมันบางไป แต่เฉพาะการเร่งรอบสูงเท่านั้น เร่งรอบกลางๆ ไม่เป็นไร ทำให้รถวิ่งได้แค่ ไม่เกิน 40 ถ้าไม่เปิดโช้ค แต่เปิดโช้ควิ่งได้ 60  อะไรวะ แต่ถ้าไม่วิ่งเร็ว เปิดโช้คจะดับ

          สรุปอีกรอบ ด้วยการเดา ว่า 
          คาบูเรเตอร์ น้องเบส แปลกกว่ารถทั่วไป เสือกทำงานเป็น 3 ระบบ คือ เดินเบา รอบกลาง และรอบสูง มั้ง และปัญหา มันอยู่ที่การทำงานรอบสูงนั่นเอง ที่จ่ายน้ำมันน้อยเกิน(รึมากเกินก็ยังไม่ชัวร์อยู่ดี)
       
          แต่ยังไงก็ต้องแกะดูคาบูล่ะ
         นั่นแน่ะ เจอของแปลกล่ะ สายยาง ลองไล่ๆ แงะๆดู ก็พบว่า ไม่น่าผิดจากที่คิด มันต้องเป็นระบบที่ทำให้เครื่องทำงานรอบสูงแน่ๆ ลองดูข้อมูลที่ได้มาโดยบังเอิญ
สายยางดั้งเดิมมันต้องแข็ง และมีปลอกสปริงด้วย เพราะมันทำงานเกี่ยวกับการรับแรงดันอากาศ แน่ๆ
      โดยมีท่อเป็นตัวดูดลมจากรูเล็กๆ ตรงทางเดินเข้าเครื่องยนต์ โดยที่ มีชิ้นส่วน 3 เป็น แผ่นไดอะแฟรม คอยเปิดปิด วาวล์ อะไรสักอย่างที่หมายเลข 1 มีสปริงเลข 2 คอยดันกลับ 
      ไม่รู้ช่างที่ไหน เอาสาย กันร้อน อ่อนๆ มาใส่แทน แถมสปริง หมายเลข 2 ก็เข็งเว่อร์ แถมยังไหม่ๆ อยู่ ไม่น่าเป็นของเดิม แล้วมันจะทำงานได้ไหมเนี่ย นี่คงเป็นสาเหตุที่ระบบรอบสูงไม่ทำงานล่ะมั้ง
       อนึ่ง เดาล้วนๆ
     
        ที่เดา ต้องมีหลักการ หลักการก็คือ กลับไปที่การทำงานของลูกเร่ง ที่ทำงานตามแรงดันอากาศ เมื่อเครื่องยนต์ ทำงานที่รอบสูง แรงดูดย่อมมากขึ้น พอแรงดูดมากแรงดันที่กระแทกแผ่นไดอะแฟรมน่าจะมีมากขึ้น เพื่อป้องกันแผ่นไดอะเฟรมเสียหายจากแรงดูดมหาศาล วิศวกรจึงทำวาวล์บายพาสแรงดูดอันนี้ขึ้น ก็คือไอ้ระบบที่เราว่ามันทำงานที่รอบสูงนี่แหละ
        ทดสอบการเดายังไง
         ก็ใช้ ปาก ยังไงล้าาา ป่าเข้าไป ในรูที่วงแดงนั่นที่จะดันลูกเร่งสูงขึ้น แล้วลองเปรียบเทียบระหว่าง ปิด กับ เปิด วาวล์ หมายเลข 1 รูปข้างบนนั่น ปรากฎว่า ถ้าแผ่น หมายเลข 2 ถูกดึงออกจากรูหมายเลข 1 จะมีการบายพาสลมฟี้ๆ จริง ถ้ากดเข้าไป เวลาเป่าพอดันลูกเร่งขึ้นสุดแล้วเหมือนเป่าท่อตันๆเลย

        คิดได้ถูกทางแย้วววว มั้งงงงง บ้วนปากด่วน เหม็น น้ำมันสัด

        แล้วทำไมเซ็ตอัฟจากช่างเก่าถึงมีปัญหา และการทำงานของมันมีผลกับระบบยังไง ต้องอธิบายได้ด้วยเซ่
       จินตนาการ เอ้า จิ้นๆๆๆๆๆ

        พอวาวล์รอบสูงไม่ทำงาน พอเร่งรอบสูง 
        กรณี 1 ไม่มีลมบายพาส ลูกเร่งขึ้นสุด น้ำมันเข้ามาก ท่วม ไม่มีการจุดระเบิด สำลัก 
        กรณี 2 ลูกเร่งลงมาจุดต่ำสุดพอดี กับเครื่องดูดลมเข้าไป ลูกเร่งชักน้ำมันไม่ทัน ทำให้น้ำมันบาง จุดระเบิดได้ แต่ไม่มีแรง
        สรุปคือ มันไม่พอดีกัน หนาบางๆๆๆๆ สลับกันไป 

        แล้วทำไม พอเปิดโช้คแล้ววิ่งได้ไม่สะดุด ????
        เพราะโช้ค มันปลอยลมบางส่วนเข้าไปดันน้ำมันให้พุ่งขึ้นที่นมหนู ช่วยเป็นแรงดันประคองให้ลูกเร่งทำงานสม่ำเสมอขึ้นงายยยย

       จินตนาการขั้นเทพล่ะ
        ตกลงต้องลองจัดการกับวาวล์รอบสูงที่ว่านี่ก่อนซินะ

        ลืมถ่ายรูปตอนทำ เอาเป็นว่า
        1. เปลี่ยนสายยางแรงดันลมให้แข็งขึ้น แต่ยังหาสปริงมาครอบไม่ได้อยู่ดี โดยเอาสายระบายลมแบตแทน เพราะแบตมันเปลี่ยนเป็นแบตแห้งไปแล้ว ไม่ต้องใช้
        2. หาปริง หมายเลข 2 มาเปลี่ยนให้อ่อนลง 
        3. ทดสอบโดยการดูดท่อแรงๆ ว่าวาวล์มันเปิดได้มั้ย 
        สุดท้ายเอาปริงปากกามายิดๆให้ได้ขนาด จนดูดแรงๆแล้วรู้วาวล์ขยับ น่าจะโอเค 
        ผลการทดสอบวิ่ง 
       1. วิ่งรอบต่ำไม่มีปัญหา แรงบิดดี รอบสูงในเกียร์ต่ำยังตันๆอยู่ ต้องเข้าเกียร์สูงขึ้นตั้งแต่ความเร็วยังไม่มาก(ลากเกียร์ไม่ได้)
       2. เกียร์ 4(สูงสุด) วิ่งได้ 40 พอบิดคันเร่งมากขึ้น เหมือนจะไม่มีแรง แต่พอฝืนบิดต่อไป (อาการเดิมจะสำลักวอด มีเสียงระเบิด) รอบจะค่อยๆไต่รอบ จนขึ้นรอบสูงได้ จนถึง 70-80 ยังไม่สุด เพราะถนนยาวไม่พอวิ่ง และ กลัวตาย

      วิ่งแบบนี้ได้อยู่หลายสิบโล 

  โปรดติดตามตอนต่อไป

      
        
         
         

      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น